ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence)

ปัญญาประดิษฐ์ หมายถึง ความสามารถในการทำงานโดยเครื่องจักร ต่างจากปัญญาซึ่งโดยปกติจะหมายถึง ความสามารถในการทำงานโดยมนุษย์หรือสัตว์

ทั้งนี้ ปัญญา ไม่มีคำนิยามที่ชัดเจน มักหมายถึงความสามารถที่ซับซ้อนคล้ายมนุษย์ เช่น การขับรถ การเรียนรู้ การสนทนา แต่ก็อาจรวมถึงความสามารถง่าย เช่น การเปิดพจนานุกรม การเปิดประตูเมื่อมีคนเข้าใกล้ การตอบสนองของพืช

ประวัติ

  • 1936 เชิร์ชและทัวริง (Church-Turing) นิยามการคำนวณแลมบ์ดาและเครื่องคำนวณทัวริง นำไปสู่การสร้างคอมพิวเตอร์
  • 1941 ซูส (Zuse) สร้างคอมพิวเตอร์ที่โปรแกรมได้เครื่องแรก
  • 1945 มหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนีย (University of Pensylvania) สร้างคอมพิวเตอร์สำหรับโปรแกรมทั่วไปครั้งแรก
  • 1952 บริษัทไอบีเอ็ม (IBM) เขียนโปรแกรมเล่นหมากฮอส
  • 1956 การประชุมดาร์ทมุท (Dartmouth) เริ่มใช้คำว่า ปัญญาประดิษฐ์ (AI: Artificial Intelligence)
  • 1960s ปัญญาประดิษฐ์จากการหาความสัมพันธ์ เช่น โปรแกรมแปลภาษา การแก้พีชคณิต
  • 1973 ฤดูหนาวของการพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ (AI winter) จากความล้มเหลวในการแปลความรู้ทั่วไป
  • 1980s ปัญญาประดิษฐ์จากผู้เชี่ยวชาญ (Expert system) เช่น การซื้อขายหุ้น การออกแบบวงจร
  • 1987 ฤดูหนาวของการพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ (AI winter) จากความล้มเหลวของตลาดคอมพิวเตอร์ LISP
  • 1997 บริษัทไอบีเอ็ม (IBM) เขียนโปรแกรมเล่นหมากรุก "ดีปบลู (Deep Blue)" ชนะแชมป์โลก
  • 2005 บริษัทฮอนด้า (Honda) พัฒนาหุ่นยนต์คล้ายมนุษย์ "อะซิโม (Asimo)" ที่เดินและยกของได้
  • 2011 บริษัทแอปเปิ้ล (Apple) พัฒนาโปรแกรมโต้ตอบข้อความเสียง "สิริ (Siri)"
  • 2017 บริษัทกูเกิ้ล (Google) พัฒนาโปรแกรมเล่นโกะ "อัลฟาโก (Alpha Go)" ชนะแชมป์โลก

วิธีการ

วิธีการที่ปัญญาประดิษฐ์ใช้มีหลากหลาย สามารถแบ่งได้เป็นสองกลุ่มใหญ่ คือ การค้นหา กับ การเรียนรู้ของเครื่องจักร ซึ่งในปัจจุบันกลุ่มหลังเป็นที่นิยมกว่า จากความสำเร็จของอัลฟาโกเมื่อปี 2017 ทำให้บางครั้งคำว่า ปัญญาประดิษฐ์ ถูกใช้แทน การเรียนรู้ของเครื่องจักร

การค้นหา (Search) สามารถหาได้จากทั้งคำตอบสำเร็จ เช่น ค้นหาพจนานุกรม หรือหาวิธีการแก้ปัญหาทีละขั้นโดยไม่รู้คำตอบสุดท้ายก็ได้ เช่น ค้นหาวิธีเดินหมากรุกตาถัดไป หากขนาดของปัญหาแคบ คอมพิวเตอร์อาจเทียบคำตอบทั้งหมดได้ แต่ปัญหาส่วนใหญ่กว้างเกินกว่า จึงจำเป็นต้องใช้วิธีการหาที่เร็วขึ้น เช่น ต้นไม้ค้นหา (Search tree pruning, minimax, backtracking), การเรียง (Sorting), การลงตามความชัน (Gradient descent), การจำลองการอบ (Stimulated Annealing), การจำลองพันธุกรรม (Genetic Algorithm)

การเรียนรู้ของเครื่องจักร (Machine Learning) เป็นการทายคำตอบจากตัวอย่างของคำตอบ โดยมนุษย์ไม่ต้องระบุคำตอบของแต่ละปัญหาโดยตรง มีหลายวิธีการ เช่น การหาค่าเฉลี่ย k กลุ่ม (K-Means), การทำนายเชิงเส้น (Linear Regression), การหาเพื่อนบ้านใกล้สุด (K-Nearest Neighbors), การเรียนรู้เชิงลึก

การเรียนรู้เชิงลึก (Deep Learning) เป็นวิธีการเรียนรู้โดยใช้เซลล์ประสาทเทียมหลายๆชั้น (Artificial Neural Network) โดยแต่ละชั้นพยายามประมวลคำตอบแล้วส่งต่อไปให้ชั้นถัดไปตามลำดับ การเรียนรู้เกิดขึ้นโดยการพยายามปรับตัวแปรในแต่ละชั้นเพื่อให้ให้ทายได้ตรงกับตัวอย่างคำตอบ การเรียนรู้เชิงลึกมี 2 รูปแบบหลัก คือ